ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
แนวทางพัฒนา
1) พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ อย่างทั่วถึงและเป็นระบบ
2) พัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งให้ได้มาตรฐานและทั่วถึง ติดตั้งเครื่องหมายจราจร สัญญาณไฟ
ตามความจำเป็น เพื่อประโยชน์ในการสัญจรและการขนส่งสินค้าเพื่อการอุปโภค บริโภค
และการเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่
3) พัฒนาระบบไฟฟ้าสาธารณะ ไฟฟ้าแสงสว่าง อุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุ และกล้องวงจรปิด
ในชุมชนเพื่อลดอุบัติเหตุและเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาการศึกษาและคุณภาพคน
แนวทางพัฒนา
1) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบให้ได้มาตรฐานและสนับสนุน
ให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ
2) เพิ่มโอกาสทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับประชาชนทุกเพศวัย
อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
3) ส่งเสริมสนับสนุนและการพัฒนาทักษะความสามารถการประกอบอาชีพที่เหมาะสม
4) พัฒนาศักยภาพของคนให้มีทักษะความรู้ ทักษะอาชีพ มีสมรรถนะที่มีคุณภาพสูง
รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
5) พัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุขให้มีคุณภาพและเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียม
ในระดับปฐมภูมิ
6) สนับสนุนการฟื้นฟูการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกตามความเหมาะสม
และเชื่อมโยงกับการดูแลสุขภาพ
7) สร้างการมีส่วนร่วมเฝ้าระวัง ป้องกัน การปรับตัว และแก้ไขปัญหาสุขภาพ
โรคติดต่อ โรคอุบัติใหม่ และการแพร่ระบาดในพื้นที่
8) สร้างเสริมความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการสุขภาวะของคนทุกช่วงวัยในชุมชน
9) พัฒนาระบบสุขาภิบาล และรักษาความสะอาดของครอบครัวและชุมชน
10) พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบเครือข่ายการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในท้องถิ่น
ให้มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน
11) พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนระบบการรักษาความปลอดภัยในชุมชนแบบมีส่วนร่วม
12) ส่งเสริม สนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขอย่างเป็นระบบครบวงจร
13) สร้างวินัยประชาชน และความร่วมมือในการดูแลความเป็นระเบียบชุมชน การจราจร
และการลดอุบัติเหตุ
14) พัฒนาและส่งเสริมระบบอินเตอร์เน็ตให้ทั่วถึง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แนวทางการพัฒนา
1) การบริหารจัดการ อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบบูรณการและยั่งยืน
2) อนุรักษ์ ฟื้นฟู และเพิ่มพื้นที่ป่า ป่าชุมชน และป่าต้นน้ำลำธารให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
3) พัฒนาฟื้นฟูแหล่งน้ำ แหล่งน้ำใต้ดินและการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ
และมีประสิทธิภาพ โดยประชาชนมีส่วนร่วม
4) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะชุมชนสิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย
5) สร้างสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6) ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก
7) เสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บูรณาการร่วมกับเครือข่ายอื่น ๆ
8) พัฒนาและเพิ่มพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ และปรับปรุงภูมิทัศน์ที่สวยงามเหมาะสม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาการเกษตรยั่งยืน
แนวทางการพัฒนา
1) สร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรและชุมชนในการพัฒนาการเกษตรที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่น
2) ส่งเสริมการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3) สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบชีวภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
4) ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตรที่ได้คุณภาพมาตรฐานความปลอดภัย เกษตรอินทรีย์
สินค้าจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ และสินค้าเกษตรมูลค่าสูง
5) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ภาคเกษตร
6) ยกระดับคุณภาพการผลิตพืชอาหารที่ปลอดภัย (Food Safety)
7) พัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร
8) ส่งเสริมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงและการผลิตสินค้าเกษตรทุกมิติ
9) ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรและความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชน
10) ส่งเสริมการใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวางแผนและการพัฒนาการผลิตสินค้าที่สอดคล้อง
กับความต้องการของตลาด
11) ส่งเสริมด้านการตลาดสินค้าเกษตร
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างเสริมทุนทางสังคมให้เข้มแข็งและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
แนวทางการพัฒนา
1) เสริมสร้างค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม จิตสาธารณะ และวัฒนธรรมที่ดีงามและเยาวชน
2) ส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ และการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ไปใช้ในการประกอบอาชีพและการดำรงชีพ
3) อนุรักษ์ สืบสานทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
และภูมิปัญญาท้องถิ่น
4) การส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่นให้สามารถมีความเข้มแข็ง
มีศักยภาพในการแข่งขันสามารถ พึ่งพาตนเองได้
5) พัฒนาและส่งเสริมทักษะความเป็นผู้ประกอบการในทุกระดับและยกระดับ
เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนให้สามารถแข่งขันได้
6) ขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาการพึ่งตนเองและการต่อยอด
จากฐานทางวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อสร้างสังคมคุณภาพ
7) ส่งเสริมและพัฒนาให้ชุมชนสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าและบริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ตามบริบทของชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาการบริหารภาครัฐภายใต้หลักธรรมาภิบาล
แนวทางการพัฒนา
1) ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่ภาคประชาชน
2) พัฒนาการให้บริการของรัฐมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพเพื่อให้ประชาชนและผู้รับบริการทุกกลุ่ม
สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส มีหลากหลายช่องทาง สามารถตรวจสอบได้
3) ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมใหม่ในการปฏิบัติงาน
และบริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง
4) พัฒนาขีดสมรรถนะของบุคลากรให้เพิ่มขึ้นและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายของภาคประชาชนในการบริหารจัดการท้องถิ่น
6) พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและความโปร่งใสส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตาม
และประเมินผลกระทบจากการพัฒนาในท้องถิ่น
7) ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในชุมชนท้องถิ่นและยกระดับทักษะประชาชน
ในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง