ร้อยตรีประเสริฐ  สีสุวอ
ร้อยตรีประเสริฐ สีสุวอ
นายก อบต.เพ็กใหญ่
087-2498825
Social Network
เมนูหลัก
บุคลากร
ข้อมูลหน่วยงาน
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
online ขณะนี้
   คน
สถิติวันนี้
466   คน
สถิติทั้งหมด
318596   คน
เริ่มนับวันที่ 11 สิงหาคม 2552

โรค มือ เท้า ปาก ในเด็ก ช่วงหน้าฝน 

ลงข่าว: 21/06/2566    1   257

โรค มือ เท้า ปาก (Hand, Foot, and Mouth Disease – HFMD)
คือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโร เชื้ออาจจะแพร่กระจายจากการติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย หรือติดต่อจากการไอ จาม รดกัน

จากข้อมูลของกรมควบคุมโรคพบว่า อัตราการป่วยพบมากสุดในกลุ่มเด็กเล็กอายุ 0 – 4 ปี รองลงมา คือเด็กอายุ 5 – 9 ปี และยังพบได้บ่อยใน โรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์เด็กเล็ก สถานที่เล่นของเด็กในห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะในบริเวณที่อยู่ร่วมกันอย่างแออัด

อาการของโรคมือ เท้า ปาก (หลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย)

หากผู้ป่วยได้รับเชื้อจะมีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน จะมีอาการเจ็บปาก ร่วมกับมีตุ่มพองเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตุ่มแผลในปาก บริเวณเพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้น และจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ

หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีไข้ขึ้นสูง ซึมลง เดินเซ ชัก เกร็ง หายใจหอบเหนื่อย อาเจียนมาก ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจติดเชื้อโรคมือ เท้า ปาก ชนิดรุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

การรักษาเบื้องต้น

  • สำหรับอาการไข้และความเจ็บปวดจากแผล สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานกลุ่มยาแก้ปวดลดไข้
  • การดูแลช่องปาก ให้ใช้น้ำเกลือบ้วนปากบ่อยๆ (จะสามารถใช้น้ำเกลืออุณหภูมิอุ่นๆ ในการบ้วนปากได้ต่อเมื่อเด็กโตพอที่จะบ้วนปากได้เองโดยไม่กลืนน้ำเกลือลงไป)
  • การรับประทานอาหาร ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่กลืนง่าย เช่น ซุป ข้าวต้ม มันบด ไอศกรีม หรือโยเกิร์ต โดยควรหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนจัด มีรสเปรี้ยว หรือมีรสเผ็ด
  • ป้องกันภาวะขาดน้ำ ด้วยการดื่มน้ำเปล่ามากๆ โดยควรดื่มน้ำทุกๆ ครึ่งชั่วโมง หรือบ่อยกว่านั้น เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ

การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก

  • โรงเรียนและสถานศึกษาควรมีการคัดกรองเด็กทุกเช้าก่อนเข้าเรียน สอนให้เด็กล้างมือเป็นประจำ
  • สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรหยุดพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้เด็กคนอื่นๆ
  • หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ใช้ร่วมกันด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ เช่น ภาชนะใส่อาหาร ห้องน้ำ ของเล่นต่างๆ
  • ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตอาการบุตรหลานอย่างใกล้ชิด และหลีกเลี่ยงการนำเด็กเล็กไปในสถานที่ที่มีคนแออัด เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ สนามเด็กเล่น ตลาด ควรอยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

“แค่ล้างมือให้สะอาด ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโรคมือ เท้า ปาก ได้ไม่ยาก และยังเป็นการลดการเกิดโรคติดต่อต่างๆ ได้อีกทางหนึ่ง”